อาหารเสริม คืออะไร เหมือน หรือแตกต่างจากยาอย่างไร และมีประโยชน์จริง หรือไม่

อาหารเสริม คือ

อาหารเสริม คืออะไรบางคนอาจรู้แล้ว แต่หลายๆ คนนั้นยังเข้าใจผิด หรือพูดเกี่ยวกับอาหารเสริมไปต่างๆ นานา บางคนก็ว่าเป็นยาเพราะเห็นมีลักษณะเป็นเม็ดคล้ายๆ ยา จนกระทั้งไม่กล้ากิน เพราะกลัวตัวเองแพ้ยาไปซะงั้น กลัวว่าตับ ไต ไส้ เครื่องในจะพัง (พูดแล้วก็นึกถึงก๋วยจั๋บน้ำข้น)

บางคนก็ว่าไม่จำเป็น เพราะก็กินอาหารได้ปกติทำไมต้องกินเสริมอีก แล้วถ้าจะกินแต่ละตัวกินอย่างไร เหมือนกันมั้ย ต้องหยุดมั้ย หรือกินต่อเนื่องได้มั้ย จะสะสมมั้ย หลายๆ คนมีคำถามต่างๆ เหล่านี้อยู่ในหัวใช่มั้ยครับ ในบทความนี้จะมาตอบหลายๆ คำถามที่ค้างคาใจของเรา ที่เกี่ยวกับอาหารเสริม อาจจะตอบได้ไม่หมดแต่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับใครหลายๆ คน ที่กำลังจะเริ่มกิน อาหารเสริม

อ่านบทความแล้วมันยังไม่ฟิน

ไปช้อปกันให้จบๆ เลยดีกว่า

อาหารเสริม คืออะไรกัน

แม้ว่าอาหารเสริม หน้าตาจะคล้ายกับเม็ดยา แต่ชื่อของเขาก็บอกเราเป็นนัยแล้วว่าคือส่วนที่เรารับประทาน เพื่อเสริมจากการที่เรารับประทานอาหารปกติ เพื่อดูแลร่างกายให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่ในหลายๆ ครั้งเราก็นำเอาอาหารเสริมมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยที่ขาดแร่ธาตุ วิตามิน หรืออาหารเสริมตัวนั้นๆ

อาหารเสริมกับยา

อาหารเสริม เหมือนหรือต่างจากยาอย่างไร ???

อาหารเสริม ต่างจากยามั้ย จริงๆ แล้วก็มีบางจุดที่ “จะว่าอาหารเสริมเหมือนก็เหมือนกับยา จะว่าต่างก็ต่าง” ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น จริงๆ แล้วการจะกำหนดว่าสินค้านี้เป็นยา หรืออาหารเสริมที่เราพบจะถูกแบ่งด้วยจุดหลักๆ 2 จุดครับ

  1. จากกฎหมายของประเทศนั้นๆว่าจะระบุให้ปริมาณที่บรรจุต่อเม็ด หรือต่อซองนั้นปริมาณเท่าไหร่ ถึงจัดว่าเป็นอาหารเสริม หรือยา เช่น วิตามินซี ถ้าหากปริมาณต่อเม็ดต่ำกว่า 50 มก.จัดว่าเป็นอาหารเสริม แต่ถ้าปริมาณตั้งแต่ 50 มก. ขึ้นไปเราจะจัดว่าเป็นยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จตามกฎหมาย แต่ในบางประเทศก็อาจจะไม่มีกฎหมายนี้เราก็อาจจะเจอได้ว่าวิตามินซี ไม่ว่ากี่มก.ก็ถูกจัดเป็นอาหารเสริมได้ตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ
  2. จากผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ พบว่าอาหารเสริมหลายๆ ตัวนั้น หากรับประทานในปริมาณที่กำหนดก็อาจมี สรรพคุณในการรักษาโรคบางอย่างได้เช่นกัน เช่น วิตามินซีในปริมาณสูง 2000 – 3000 มก.สามารถลดระยะเวลาในการเป็นโรคหวัด (common cold) ลงได้ พอเป็นเช่นนี้ บางครั้งการรักษาทางการแพทย์ จึงมีการใช้อาหารเสริม เพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาเช่นเดียวกับยา แต่โดยสรุปแล้วอย่างไรอาหารเสริมก็ยังมีความแตกต่างจากยาอยู่หลายๆ แง่มุม
  • เรามักจะไม่ใช้อาหารเสริมอย่างเดียวมา เพื่อใช้ในการรักษาโรค แต่เราจะใช้ร่วมกับยาตัวหลักที่ใช้รักษาโรคนั้นๆ มากกว่า
  • เราจะไม่ระบุสรรพคุณของอาหารเสริมลงบนฉลาก ซึ่งแตกต่างจากยา จะมีการระบุสรรพคุณลงในเอกสารกำกับยาทุกครั้ง เนื่องจากสรรพคุณของอาหารเสริมไม่ได้เน้นเพื่อนำมารักษาโรคโดยตรง และการทดลองทางวิทยาศาสตร์ยังน้อยกว่ายามาก รวมถึงผลลัพธ์ในการรักษา หรือป้องกันโรค ยังมีความไม่ชัดเจนเท่ากับยานั้นเอง

เลือกอาหารเสริมอย่างไร

อาหารเสริมในท้องตลาดมีมากมาย แต่ว่าจะเลือกอย่างไรล่ะ เพราะหากเราไม่มีหลักในการเลือกอาหารเสริมแล้ว เราจะต้องเสียทั้งเงิน และไม่ได้รับประโยชน์ที่สูงสุด สำหรับการทานอาหารเสริมนั้นๆ คนหลายๆ คนบางครั้งยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอาหารเสริมที่ตนเองกินนั้นมีประโยชน์ใดกับร่างกาย และบางตัวหากไม่มีความรู้ในการเลือกอาจเป็นโทษกับร่างกาย หรือกระทบกับยาที่กินเป็นประจำที่ใช้รักษาโรคประจำตัวอีกด้วย

แต่ที่ซื้อมารับประทานมักจะซื้อตามคำบอกเล่าของคนใกล้ตัวบ้างว่า “ตัวนี้กินแล้วดี ลองไปซื้อมากินดูซิ” บางครั้งยังไม่ได้ถามคนที่แนะนำเลยว่ากินเพื่ออะไร ก็มาหาซื้อซะแล้ว หรือจากคำโฆษณา ทั้งๆ ที่จริงๆแล้วเราอาจไม่ได้มีปัญหาเรื่องเดียวกับคนในโฆษณาเลยด้วยซ้ำ หรือคนในโฆษณาก็ไม่ได้กินอาหารเสริมตัวนั้นเป็นประจำจริงๆ แต่ก็หาซื้อมากินจนได้ แล้วเราจะเลือกอาหารเสริมอย่างไรดีล่ะ

เลือกอย่างไร

1. ก่อนที่จะเลือกอาหารเสริม เราต้องวิเคราะห์ปัญหาร่างกายเราก่อน ว่าร่างกายเรามีปัญหาอะไร ตอบคำถามของร่างกายนี้ให้ได้ก่อน ซึ่งตรงนี้เราอาจจะวิเคราะห์ปัญหาเองไม่ได้  ให้เราปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร ในปัญหาที่เราเป็น เพราะจะได้คำตอบที่ถูกต้องมากกว่าการปรึกษาคนที่มีระดับความรู้ ความเข้าใจ ที่เท่าๆ กับเรา และควรศึกษาข้อมูลจากหลายๆ แหล่งประกอบกันอีกครั้งหนึ่ง

2. เลือกอาหารเสริมที่มีงานวิจัยที่ดี (ง่ายสุดคือสอบถามได้จากแพทย์ หรือเภสัชกรและสามารถหาข้อมูลจากวรสารทางการแพทย์) และตรงกับปัญหาที่เราเป็น ในการเสริมการรักษา หรือดูแลร่างกายเราที่บกพร่องจนทำให้เกิดโรคนั้นๆ

เช่น ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นเวลากลางคืน ใช้สายตามาก เราก็ควรมองหาอาหารเสริม เช่น วิตามินเอ (Vitamin A) ลูทีน (Lutein) เบต้าแคโรทีน (Beta Carotene) แอสต้าแซนทีน (Astaxanthin) ,  ถ้าเราเป็นภูมิแพ้ หรือเป็นหวัดง่าย เราก็ควรมองหาอาหารเสริม เช่น วิตามินซี (Vitamin C) เบต้ากลูแคน (Beta- Glucan) ให้กับผู้ที่มีปัญหานี้ทาน

3. เลือกอาหารเสริมที่มีตราสัญลักษณ์ที่ถูกต้อง และมาตรฐานต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ต้องมีเลขที่ อ.ย.กำกับ และเป็นเลขที่ถูกต้องอีกด้วย โดยเราสามารถนำเลขที่ อ.ย. ไปค้นหาบนเว็บไซด์ของ อ.ย. เพื่อตรวจสอบก่อนซื้อได้ ถ้าอาหารเสริมนั้นมี เครื่องหมาย GMP ยิ่งน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นไปอีกระดับ รวมถึงดูความน่าเชื่อถือของตราสินค้านั้นๆ ประกอบด้วย

ทำไมต้องกินอาหารเสริมและกินอย่างไร

“กินอาหารปกติอยู่แล้ว  ทำไมยังต้องกินเสริมอีกล่ะ” หลายๆ คนคงมีคำถามนี้ ใช่ครับ การที่เราไม่กินอาหารเสริมมันก็ไม่ได้ทำให้ร่างกายเราป่วย หรือทำให้ร่างกายมีปัญหาแต่อย่างใด แต่ความจริงคือ ใน 1 วันเรากินอาหารอะไรบ้าง บางคนอาจบอกว่าแทบจะกินตลอดเวลาเลย แต่เรากินอาหารได้ครบจริงๆ หรือบางคนทั้งวันแทบจะไม่ได้แตะผัก ผลไม้เลย หรือทานก็น้อยมาก เมื่อเทียบกับปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันแล้ว ไม่เพียงพอด้วยซ้ำ

ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ร่างกายเรามันจะไม่ได้ทรุดทีเดียวในวันพรุ่งนี้ครับ แต่มันจะค่อยๆ ทรุดไปในทุกๆวัน จนกระทั้งเกิดปัญหา และเกิดความบกพร่องขึ้นของร่างกาย เช่น การเกิดปากนกกระจอก (แผลทีมุมปาก) จากการขาดวิตามินบี 2  การเกิดโรคลักปิดลักเปิด จากการขาดวิตามินซี และยังมีโรคอีกหลายๆ โรคที่เป็นโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งหลายๆ คนอาจเคยมีอาการเหล่านี้ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้ หรือหาสาเหตุไม่เจอว่าเกิดจากโรคอะไร แต่ที่แท้อาจเกิดจากการขาดวิตามิน หรือสารอาหารบางอย่างก็เป็นได้

สรุป

จากที่ได้เล่ามาทั้งหมด คงจะพอเป็นข้อมูลให้หลายๆ ทานที่กำลังเริ่มสนใจที่จะรับประทานอาหารเสริมได้มีข้อมูลในการตัดสินใจ และเลือกอาหารเสริมได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น สุดท้ายขอฝากสั้นๆว่า ก่อนทานอาหารเสริมควรเลือกจากความรู้ ไม่ใช่จากกระแส หรือคำบอกเล่าเท่านั้น

เราไม่อาจดูแลร่างกายให้แข็งแรงในทุกวัน แต่อาหารเสริมคือเพือนสนิทผู้ช่วยดูแลร่างกายของคุณในทุกๆ วัน

ดูรายการอาหารเสริม
฿195.00 (รวมภาษีแล้ว)