หลายๆ คนที่มี ร้านขายยา มาก่อนแล้ว เมื่อได้ยินคำว่า GPP ที่ไร เป็นอันต้องทำหน้าเซ็งกันไปทุกราย เพราะเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดใน GPP นั้นช่างมีหลายข้อเสียเหลือเกิด แล้วเจ้ากฏเกณฑ์ที่ว่านี้มั้นคืออะไร
สารบัญ (ยาวไปเลือกอ่านได้)
1. GPP คืออะไร เปิดร้านขายยาต้องทำมั้ย
2. หลักเกณฑ์ GPP จากอดีต – ปัจจุบัน ปี 2563 มีอะไรบ้าง ไปดูกัน
GPP คืออะไร เปิดร้านขายยา ต้องทำมั้ย
GPP หรือ Good pharmacy practice คือมาตราฐานของการบริการที่ดีทางเภสัชกรรม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่ทางสภาเภสัชกรรมเป็นผู้กำหนด โดยเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมานี้ ก็เป็นหลักปฏิบัติสากลมาก่อนโดย หลักเกณฑ์ที่ว่านี้ถูกใช้มาอย่างแพร่หลายแล้วในต่างประเทศ ทั้งในแถบเอเชีย และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
โดยในความหมายที่องค์การอนามัยโลกกำหนด จะถูกใช้ทั้งในโรงพยาบาล และร้านขายยา แต่ในประเทศไทยเราได้ถูกนำมาใช้กับร้านขายยาเป็นหลัก โดยเราก็ได้นำหลักเกณฑ์นี้มาปรับใช้ให้เหมาะกับร้านขายยาในบ้านเรา หรือเปล่า??
เราเริ่มใช้ GPP ร้านขายยา ตั้งแต่เมื่อไหร่
ก่อนหน้านี้จริงๆ แล้วเรามี เกณฑ์สำหรับร้านขายยา ที่มีมากกว่าการทำ จีพีพี ก่อนหน้านี้แล้ว นั้นก็คือโครงการ ร้านขายยาคุณภาพ นั้นเอง เพียงแต่ว่าโครงการนี้ทางสภาเภสัชไม่ได้บังคับให้ทุกๆ ร้านต้องทำ แต่สำหรับ GPP แล้ว ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 จะบังคับให้ร้านที่เปิดใหม่ทุกร้านต้องทำ โดยหลักเกณฑ์นี้ตาม พรบ ได้ถูกออกมาในรูปแบบกฎกระทรวง (เป็นกฎหมายย่อยใน พรบ) เมื่อปี พ.ศ.2556 และมีผลบังคับใช้ 25 มิถุนายน 2557 โดยมีการปรับแก้ จากกฎกระทรวงปี 2549 ที่ได้พูดถึงเฉพาะตัวร้านยาคุณภาพ
ผลที่ตามมาก็คือ ร้านยาในที่เป็นร้านขายยาคุณภาพ ก็ไม่ต้องทำซ้ำอีก ส่วนร้านขายยาเปิดใหม่ ต้องทำจีพีพีทุกร้านให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อขอใบอนุญาติการเปิดร้าน แต่สำหรับร้านเก่าที่เปิดมานานแล้ว คือได้รับอนุญาติก่อน 25 มิ.ย.2557 กฎกระทรวงจะผ่อนผันให้มีการปรับปรุงร้านในระยะเวลาไม่เกิน 8 ปี
กลับสู่สารบัญหลักเกณฑ์ GPP จากอดีต – ปัจจุบัน ปี 2563 มีอะไรบ้าง ไปดูกัน
เกณฑ์ต่างๆ ตั้งแต่เริ่มมีการใช้กฎเกณฑ์นี้ ก็มีทำเอาร้านยาหลายร้าน ปิดหนีกฎหมายจำนวนมาก เพราะไม่ต้องการทำตามกฎเกณฑ์นี้ เพราะเนื่องด้วยต้องมีการปรับปรุงร้านใหม่ และการว่าจ้างเภสัชกรให้มาอยู่ประจำร้าน ทำให้ต้นทุนของการเปิดกิจการร้านขายยาเพิ่มมากขึ้น แล้วเจ้า Good pharmacy practice ที่ว่านี้มีการแบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 5 ข้อใหญ่ๆ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน
หมวดที่ 1 สถานที่
โดยในหมวดนี้ จะรวมเอาเรื่องของสถานที่ในแต่ละส่วนของร้านขายยาเลยก็ว่าได้ ตั้งแต่สถานที่ตั้งของร้านขายยา ขนาดพื่นที่ต่างๆ ภายในร้าน จนกระทั้งถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของร้านขายยาเลยก็ว่า เช่น สถานที่เก็บยา ม่านบังยา หรือโต๊ะในการให้คำปรึกษา
เพราะฉะนั้นหากใครที่เพิ่งเปิดร้านแล้ว ไม่รู้กฎข้อนี้ อาจทำให้พอทำร้านเสร็จ อาจต้องมาปรับแก้ ซึ่งจะยิ่งทำให้เสียเวลามาก เพราะฉะนั้นตอนที่เราวางแผนในการทำร้านต้อง มาศึกษาหัวข้อในหมวดสถานที่นี้ให้ดีว่าเขามีเงื่อนไข หรือ ข้อกำหนด (Checklist) อะไรบ้าง เพราะบ้างข้อนั้นถือเป็นข้อบังคับที่ต้องทำให้ได้ ไม่ไงตอนตรวจร้านไม่ผ่านแน่นอน
หมวดที่ 2 อุปกรณ์
ไปต่อกันเลยกับหมวดที่ในความคิดของแอดนะ จริงๆ ตัดออกก็ได้ในยุคปัจจุบันที่เรามี internet กับ 12345G กันแล้ว แต่ก็เอาเถอะ เขาให้ทำก็ทำให้มันผ่าน เพื่อจะได้เปิดร้านต่อแล้วกัน โดยในหมวดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่อาจมีใช้บ้างในร้านขายยา เพื่อบริการผู้ป่วย และเป็นอุปกรณ์ที่อาจต้องใช้ในอดีต เช่น ถาดนับยา เครื่องวัดความดัน หรือเครื่องชั่งน้ำหนัก รวมถึงถังดับเพลิง
เพื่อความปลอดภัยของคนที่อยู่ในร้าน (เอาจริง ถ้าไฟไหม้ จะมีใครมาสนใจใยดีถังนี้ 555 แต่มันก็มีประโยชน์หากเกิดไฟไหม้เล็กน้อย ก็ใช้ฉีดให้ไม่ลุกลามก็ว่าไป) ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ แอดคิดว่าหาไม่ยากสำหรับผู้ที่ต้องการจะเปิดร้าน หรือผู้ที่มีร้านอยู่แล้ว และต้องเตรียมพร้อม เพื่อตรวจจีพีพีในแต่ละปี
หมวดที่ 3 บุคลากร
หมวดนี้เนี้ยใช้การประเมินที่มีความ ART + SCIENCE สุดๆ โดยเวลาตรวจเขาจะดูตั้งแต่การแต่งกายของบุคลากรภายในร้าน ประเมินความรู้ความสามารถของเภสัชกร ผู้ช่วยเภสัชกร จากการสอบถาม การซักถามความรู้ต่างๆ และการเก็บคะแนน CPE cost per engagement โว๊ย ไม่ใช่ มันคือ (continuing pharmaceutical education) ข้อบังคับสภาเภสัชว่าด้วยการศึกษาต่อเนื่อง ของเภสัชกร ว่าเก็บครบมั้ย (มีเฉลยส่งกันบานเลย 555 ขึ้นอยู่กับเภสัชกรแล้วละ ว่าเข้าไปทำกันมั้ย) และการติดป้ายบ่งบอกว่าใครทำหน้าทีอะไรภายในร้าน เพื่อป้องกันคนไข้สับสนว่าใครเป็นเภตัวจริงตัวปลอมกันแน่ แต่ก็อะน่ะ อยากผ่านก็เตรียมกันให้พร้อมแล้วกัน
หมวดที่ 4 การควบคุมคุณภาพยา
สำหรับหมวดนี้ ในความเห็นแอด ถือว่าเป็นหมวดที่มีประโยชน์กับร้านยาพอสมควรเลย แต่ก็เป็นหมวดที่เพิ่มภาระงานเราหนักหนาเช่นกัน แต่เป็นหมวดที่ฝึกให้เรามีวินัย มีระเบียบแบบแผน ในการจัดการ การบริหารงาน แต่ถ้าเราทำจนเป็นนิสัยติดตัวในการอยู่ร้านแล้ว หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วย ก็จะช่วยให้การทำงานส่วนนี้เบาแรงขึ้น
โดยหมวดนี้ส่วนใหญ่ จะเน้นไปตั้งแต่การซื้อยาจากแหล่งซื้อก่อนนำยาเข้าร้าน จนกระทั้งการบริหารยาคงคลัง ยาใกล้หมดอายุ ให้อยู่ในมาตรฐาน เพื่อรักษาคุณภาพของยา และเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยที่จะได้รับยาหมดอายุ แม้กระทั้งซองใส่ยาที่กันแสง ซึ่งถ้าดูแล้วหากร้านเรามียาหลายๆ ตัว
งานนี้ก็ถือว่าเป็นงานที่เยอะเอาเรื่อง แต่อย่างน้อยหัวข้อนี้ก็ช่วยให้เราลดการสูญเสียทั้งยา และช่วยให้ผู้ป่วยรับยา ที่ใหม่เสมอๆ ทำให้ร้านลดการขาดทุนจากยาหมดอายุ ได้เป็นอย่างดี ถ้าฝึกทำงานนี้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ก็จะเป็นผลดีกับเราด้วยเช่นกัน
หมวดที่ 5 การปฏิบัติตามวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน
หัวข้อนี้อันสุดท้ายแล้ว โดยเขาจะดูว่าเภสัชกร ปฏิบัตหน้าที่ถูกต้องมั้ย มีการซักถามประวัติ อาการ ต่างๆ ข้อผู้ป่วยก่อนจ่ายยา หรือมั้ย รวมถึงให้ข้อมูลการแก้ผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ก่อนจะจ่ายยา เพื่อป้องกันการแพ้ยา และการจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในร้านอีกด้วย
แล้วเราไม่ทำ GPP ได้มั้ย หากจะเปิดร้านยา
คำตอบคือได้ อ้าวงงไปเลย ก็ทำเป็น ” ร้านขายยาคุณภาพ” ไปเลย ซึ่งเกณฑ์มีรายละเอียดมากกว่านี้อีก 555 ถ้าในปัจจุบันยังไงก็ต้องทำเพราะถือเป็นกฎหมายแล้ว ซึ่งจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นก่อนเปิดร้านควรศึกษาเรื่องนี้ให้พร้อม และเตรียมทุกอย่างที่เขากำหนดใน checklist ให้พร้อมโดยเฉพาะหัวข้อที่เป็น Critical Defect ต้อง Focus เป็นพิเศษเพราะคะแนนเยอะ โดยสามารถดูได้จาก คู่มือการตรวจ GPP ได้เลย
ใครที่วางแผนจะเปิดแต่ยังไม่รู้จะเริ่มยังไงคลิกดูบทความนี้ก่อนได้
ข้อดี – ข้อเสีย
กฏเกณฑ์ทุกอยากแอดมองว่าในดีมีเสีย ในเสียมีดีเสมอ ไปมีกฏไหนดี 100% และมีข้อเสีย 100% จึงทำให้กฏหลายๆ อย่างมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
ข้อดี
- ช่วยปรับยกระดับมาตรฐานร้านขายยา ให้ดียิ่งขึ้น และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
- ช่วยให้ผู้ที่ทำร้านยาเห็นภาพการบริหารจัดการภายในร้านได้ดียิ่งขึ้น
- ทำให้เห็นบทบาทที่ชัดเจนของบุคลากรภายในร้าน ทำให้คนไข้เชื่อมั่นในมาตรฐานร้านขายยามากขึ้น ว่าจะได้รับการดูแลที่ถูกต้อง
- เป็นกำแพงทางธุรกิจ (ฺBusiness Barrier) ไม่ให้ใครเข้ามาในธุรกิจได้ง่ายๆ
ข้อเสีย
- หลักเกณฑ์บางอย่างอาจจะดูไม่จำเป็น แต่ต้องทำให้เสียเวลาในการทำงานอื่นๆ
- กฏเกณฑ์บางข้ออาจทำให้เสียโอกาสในการเปิดร้านขายยาในบางพื้นที่ ที่มีขนาดพื่นที่ไม่เพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
สรุป
การทำ GPP นั้นหลายๆ คนอาจจะเบื่อหน่ายที่ต้องทำ แอดก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยชอบทำตามกฎเกณฑ์เท่าไหร่นัก แต่ว่าหากคิดจะทำธุรกิจร้านขายยาแล้วเราก็คงหลีกหนีไม่พ้น เพราะฉะนั้น แนะนำว่าให้ทำจนเป็นนิสัย และพยายามบริหารจัดการร้าน และวางระบบ ใช้ POS ที่เอื่อต่อการทำบัญชียาต่างๆ และฝึกให้ทุกๆ คนในร้านขายยาของเราเข้าใจ และช่วยกันทำ ก็จะทำให้การทำนั้นไม่อยาก และวุ่นวายอีกต่อไป แล้วพบกันใหม่กับเรื่องเล่าร้านขายยาในบทความถัดๆ ไป บะบาย