ร้านขายยาออนไลน์ ทำได้เลยมั้ย ผิดกฎหมายหรือไม่ หรือต้องต้องขออนุญาตก่อน

ร้านขายยาออนไลน์

ในปัจจุบันหลายๆธุรกิจ รวมถึง ร้านขายยา ทั่วๆ ไป หลายๆ ร้านก็หันมาทำ ร้านขายยาออนไลน์ แบบเดียวกับธุรกิจในวงการอื่นๆ ที่หันมาทำการตลาดดิจิตอล และยิ่งช่วงที่เกิดสถานการณ์ COVID-19 ระบาด ทำให้ผู้คนไม่กล้าออกจากบ้าน หรือไปในที่ชุมชน ยิ่งทำให้หลายๆ ธุรกิจ หลั่งไหลเข้ามาสู่โลกออนไลน์ได้มากขึ้น แต่ก็มีคำถามอยู่ว่า การที่ร้านขายยามาจำหน่ายยาทางช่องทางออนไลน์นี้ ผิดกฎหมายมั้ย จะโดนกระทรวงสาธารณสุข เล่นงานมั้ย บทความนี้มีคำตอบ

ร้านขายยาออนไลน์ ผิดกฎหมายมั้ย ??

ถ้าจะให้ตอบว่าผิดเลย หรือไม่ผิดกฎหมาย ก็ไม่มีคำตอบไหนถูกทั้งหมด โดยก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจประเภทของยาก่อนว่าปกติแล้ว ยาตามกฎหมายจะมีหลายประเภท เช่น ยาสามัญประจำบ้าน ยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษ ยาใช้ภายนอก ยา OTC (Over the counter) ซึ่งยาแต่ละแบบที่เรากล่าวไป มีกฎหมายยาที่ควบคุมการใช้ การจำหน่าย จ่ายแจกที่แตกต่างกัน

ยาร้านขายยาออนไลน์

ยากลุ่มไหนบ้างที่ขายออนไลน์ได้

ยากลุ่มที่ขายออนไลน์ได้แน่ๆ คือ ยาสามัญประจำบ้าน โดยยากลุ่มนี้จะขายที่ไหนก็ได้ เช่นร้านสะดวกซื้อ หรือร้านขายของชำ เพราะกฎหมายให้อิสระ เพราะถือว่ายาเหล่านี้ ค่อนข้างเป็นยาที่ปลอดภัยแล้วระดับหนึ่ง ส่วนยาที่ขายไม่ได้แน่ๆ นั้นคือยาอันตราย และยาควบคุมพิเศษ เพราะยา 2 กลุ่มนี้ จำกัดให้จ่ายเฉพาะในร้านขายยา และในโรงพยาบาล ภายใต้การดูแลของเภสัชกรเท่านั้น

ส่วนยากลุ่มที่ยังคงมีความคลุมเครืออยู่ หรือเป็นสีเทาอยู่ คือยา OTC (Over the counter) โดยยากลุ่มนี้ส่วนใหญ่เรียกได้ว่ามีความปลอดภัยระดับหนึ่ง เวลาที่เราเข้าไปในร้านขายยา ยานี้จะอยู่บริเวณทั่วๆ ไปเหมือนของในร้าน ไม่ได้อยู่บริเวณเคาเตอร์ที่มีเภสัชกรคอยกำกับอยู่ ทำให้ยาในกลุ่มนี้ยังไม่มีกฎหมายออกมายืนยันแน่ชัด 100% ว่าการขายนั้นผิดกฎหมาย หรือถูกกฎหมาย

โดยยาเหล่านี้ก็มักจะเป็นยานวดแก้ปวด ยาหม่องต่างๆ หรือพวกยาขับลม ยาช่วยย่อยอาหาร นอกจากนี้ยังมีการขายยาส่ง สามารถขายออนไลน์ได้เช่นกัน ตามกฎหมาย และต้องทำเรื่องขออนุญาติ และจะต้องการจำกัดการเข้าดูสินค้า และจำหน่ายให้เฉพาะสถานประกอบการณ์พยาบาลเท่านั้น หรือร้านขายยาเท่านั้น

ข้อดีของการซื้อ-ขาย ยาออนไลน์

  • อย่างแรกเลยที่เห็นได้ชัดคือ สามารถทำการซื้อ และขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง หากมีปัญหาสุขภาพด้านไหน ก็สามารถซื้อยาให้มาส่งได้ด้วยความรวดเร็ว
  • เนื่องจากค่าเช่าพื้นที่ทำออนไลน์นั้น ต่ำกว่าการเช่าหน้าร้านมากกก ทำให้หลายๆ ร้าน จำหน่ายยาในราคาที่ถูกกว่าขายหน้าร้านขายยา ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาในราคาถูกกว่าเดิม
ร้านขายยาออนไลน์ 24ชม

ข้อเสียของการซื้อ-ขาย ยาออนไลน์

  • ตัวเภสัชกรเองไม่เห็นลักษณะของคนไข้ทั้งหมด (General appearance) เพื่อประเมินอาการก่อนที่จะจ่ายยา เพราะเวลาอยู่ที่หน้าจอจะถ่ายให้เห็นในมุมที่แคบกว่า ทำให้มีโอกาสวินิจฉัยโรคผิดพลาดได้ และการซักประวัติทำได้ยากกว่า ทำให้มีโอกาสได้ยาผิดไปได้ เพราะไม่เห็นลักษณะของโรคที่เป็น และคนไข้แบบองค์รวม
  • ได้รับยาจากผู้ที่ไม่ได้เป็นเภสัชกร เพราะเราไม่รู้ว่าคนที่เป็นแอดมินที่คุยกับเรานั้นเป็นเภสัชจริงๆ หรือเปล่า ถ้าไม่ใช่เภสัชกรจริง ก็เสี่ยงอันตรายกับตัวคนไข้ ที่จะได้รับยาผิดพลาดจากโรคที่เป็น
  • เราอาจโดนบางเว็บหลอกขายยาปลอม หรือยาใกล้หมดอายุ ให้กับเราเพราะเราไม่ได้เห็นยาได้ละเอียดถี่ถ้วนทั้งหมด เนื่องจากในบางครั้งไม่ได้ถ่ายภาพยาไว้ทุกมุม และเราไม่ได้สอบถามวันหมดอายุ

แล้วเราควรซื้อยาในช่องทางออนไลน์มั้ย

ถ้าเอาจากใจจริงซื้อก็ได้ครับ เดี่ยวแอดขายไม่ได้ 555 ล้อเล่นครับ ถ้าแนะนำจริงๆ อยากให้มาพบเภสัชกร หรือมาที่ร้านขายยาดีกว่าครับ ถึงแม้ว่าจะเจอ หรือไม่เจอเภสัชกรเวลานั้น การที่ผู้ที่จ่ายยาให้เราได้เห็นลักษณะของโรคเราทั้งหมด จะทำให้เห็นรายละเอียดก่อนจ่ายยาได้มากกว่า และยังซักประวัติได้ละเอียดกว่า รวมถึงเวลามีปัญหา เรายังรู้ว่าใครเป็นผู้จ่ายยาให้เรา

สรุปเรื่องราวเกี่ยวกับร้านขายยาออนไลน์

ถ้าหากว่าเอาตามกฎหมายแล้ว การขายยานอกสถานที่นั้นถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ตามพรบ ยา 2510 มาตราที่ 19 เรื่องการขายยานอกสถานที่ ซึ่งก็มีโทษปรับ 10000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี และนอกจากนี้ยังมีเรื่องของกฎหมายการโฆษณายาอีกด้วย ตามพรบยา 2510 มาตราที่ 88 ซึ่งการใช้สื่อ ภาพ รวมถึงการโอ้อ้วดสรรพคุณเกินจริง จะมีโทษปรับอยู่ที่ 100,000 บาท เลยที่เดียว ก็จะมีแต่ยาสามัญประจำบ้านเท่านั้น ที่สามารถซื้อ-ขายได้ในช่องทางออนไลน์กันอะน่ะ แล้วพบกันใหม่ในบทความน่า บะบายย

อ่านบทความแล้วมันยังไม่ฟิน

ไปช้อปกันให้จบๆ เลยดีกว่า